ให้บริการเลิกสุรา ,บุหรี่ ทุกบ่ายวันอังคารที่ฝ่ายเวชปฏิบัติครอบครัว

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคดีๆ ในการลดปริมาณการดื่ม ถ้ายังเลิกขาดไม่ได้?

1. ตั้งจุดมุ่งหมายถึงปริมาณและจำนวนวันที่ตั้งใจจะดื่มแอลกอฮอล์
2. ตั้งจังหวะการดื่มในแต่ละครั้ง เช่นจิบอย่างช้าๆ ดื่มน้อยกว่า 1 แก้วต่อชั่วโมง หรือสลับเปลี่ยนด้วยเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ เช่น น้ำเปล่า น้ำอัดลม หรือ น้ำผลไม้
3. รับประทานอาหารร่วมด้วยขณะดื่ม จะทำให้แอลกอฮอล์ถูกดูดซึมได้ช้าลง
4. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเช่น ถ้าเห็นคนบางคน หรือ สถานที่บางอย่าง แล้วทำให้รู้สึกอยากดื่ม ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นั้นๆ ถ้ากิจกรรมบางอย่างเป็นตัวกระตุ้น ก็ควรที่จะวางแผนว่าจะทำอะไรแทนกิจกรรมนั้น แต่ถ้าการอยู่ที่บ้านเป็นตัวกระตุ้น ก็ควรที่จะไม่มีแอลกอฮอล์เก็บไว้ในบ้าน
6. วางแผนที่จะจัดการกับความรู้สึกอยากดื่มเมื่อมันเกิดขึ้น เช่น เตือนตนเองถึงเหตุผลที่ต้องการเลิก  พูดคุยกับคนที่รู้สึกไว้วางใจ หรือหันไปทำกิจกรรมอื่นที่ไม่กระตุ้นให้ดื่ม หรือบางทีก็ปล่อยให้ความรู้สึกอยากดื่มนี้มีต่อไป โดยยอมรับถึงความรู้สึกนี้ และรู้ว่าอีกไม่นานมันก็จะหายไป 
7. รู้จักที่จะปฏิเสธ เนื่องจากจะมีบ่อยครั้งที่คนอื่นจะชักชวนให้ดื่ม โดยทำอย่างสุภาพ และจริงจัง ยิ่งปฏิเสธได้เร็วเท่าใด ยิ่งทำให้มีโอกาสน้อยที่จะกลับไปดื่มอีก ดังนั้นไม่ควรลังเลที่จะปฏิเสธอย่างทันทีทันใด เมื่อมีผู้ชักชวนให้ดื่ม
8. การมีกลุ่มที่ช่วยเหลือสนับสนุนกันในการเลิกการดื่ม จะสามารถช่วยให้มีกำลังใจ ได้เห็นตัวอย่างของผู้ที่ประสบความสำเร็จในการเลิกดื่ม และให้ประสบการณ์หรือวิธีการของแต่ละคนในการเลิกการดื่มได้ด้วย
กล่าวโดยสรุปแล้วการเลิกดื่มสุราหรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์นั้นต้องมีความตั้งใจ และหาแรงจูงใจในการเลิกดื่ม เช่น เลิกดื่มเพราะสุขภาพ เป็นต้น จากนั้นเมื่อตั้งใจจะเลิกแล้วอย่างแน่นอนแล้ว ควรมีการค้นหาว่าตนเองมีลักษณะการดื่มเป็นเช่นไร อะไรเป็นตัวกระตุ้นให้ดื่ม จากนั้นพิจารณาว่าตนเองดื่มสุราอยู่ในระดับใด หากเข้าเกณฑ์ของการเป็นผู้ติดสุรา ควรที่จะปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาช่วยในการเลิกการดื่มพร้อมกับทำพฤติกรรมบำบัดหรือจิตบำบัดร่วมด้วย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น