ให้บริการเลิกสุรา ,บุหรี่ ทุกบ่ายวันอังคารที่ฝ่ายเวชปฏิบัติครอบครัว

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สาเหตุการติดสุรา

สุรา...เป็นสารเสพติดประเภทหนึ่ง เพราะสุรามีลักษณะเดียวกับสิ่งเสพติด ชนิดอื่นๆ เนื่องจากถ้าเกิดอาการติดแล้วต้องเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าเลิกดื่มก็จะมีอาการอดเหล้า การติดสุรามีสาเหตุจากปัจจัยต่าง ๆ คือ

1.ตัวผู้ติดสุรา อยากลองเห็นเป็นเรื่องที่ท้าทาย ตื่นเต้น สนุกสนาน โดยเฉพาะในวัยรุ่น มีกรรมพันธุ์ พบว่าผู้ติดสุรา ประมาณร้อยละ ๒๕ มักมีบิดาและพี่น้องผู้ชายติดสุราด้วย มีลักษณะบุคลิกภาพ แบบประหม่า วิตกกังวล ไม่มั่นใจ และถ้าการบริโภคแอลกอฮอล์ช่วยทำให้สิ่งเหล่านี้หายไป เช่น ทำให้รู้สึกกล้า และมั่นใจมากขึ้น


2.ตัวสารแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์เป็นสาร ที่มีคุณสมบัติทำให้เกิดการเสพติดได้ โดยแอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความอยาก การเสพติดเป็นวงจรของสมองที่เกี่ยวกับความอยาก ความพึงพอใจ ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่เกี่ยวข้องกับการติดสารเสพติด ทำให้ผู้เสพเกิดความพอใจ และมีความต้องการใช้ซ้ำอีก หักห้ามใจไม่ได้ ซึ่งนำไปสู่การติดในที่สุด และในหลายๆครั้ง ทำให้มีการกลับไปใช้สารนี้ใหม่อีก เพราะความอยาก ปัญหาของการเลิกแอลกอฮอล์จึงไม่ได้

3. สิ่งแวดล้อม เป็นแรงเสริมทำให้ติดสุราได้ เช่น สังคมและวัฒนธรรมสังคมไทยมองเรื่องการดื่มแอลกอฮอล์ว่าเป็นเรื่องธรรมดา หามาดื่มได้ง่าย บางครอบครัวมีสุราไว้ประจำบ้าน มีกลุ่มเพื่อนชักจูง ดังนั้นเมื่อมีปัญหาครอบครัว มีความเครียดในชีวิตต่าง จะหันมา พึ่งแอลกอฮอล์ จนเกิดการติดขึ้นได้ในที่สุด

เทคนิคดีๆ ในการลดปริมาณการดื่ม ถ้ายังเลิกขาดไม่ได้?

1. ตั้งจุดมุ่งหมายถึงปริมาณและจำนวนวันที่ตั้งใจจะดื่มแอลกอฮอล์
2. ตั้งจังหวะการดื่มในแต่ละครั้ง เช่นจิบอย่างช้าๆ ดื่มน้อยกว่า 1 แก้วต่อชั่วโมง หรือสลับเปลี่ยนด้วยเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ เช่น น้ำเปล่า น้ำอัดลม หรือ น้ำผลไม้
3. รับประทานอาหารร่วมด้วยขณะดื่ม จะทำให้แอลกอฮอล์ถูกดูดซึมได้ช้าลง
4. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเช่น ถ้าเห็นคนบางคน หรือ สถานที่บางอย่าง แล้วทำให้รู้สึกอยากดื่ม ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นั้นๆ ถ้ากิจกรรมบางอย่างเป็นตัวกระตุ้น ก็ควรที่จะวางแผนว่าจะทำอะไรแทนกิจกรรมนั้น แต่ถ้าการอยู่ที่บ้านเป็นตัวกระตุ้น ก็ควรที่จะไม่มีแอลกอฮอล์เก็บไว้ในบ้าน
6. วางแผนที่จะจัดการกับความรู้สึกอยากดื่มเมื่อมันเกิดขึ้น เช่น เตือนตนเองถึงเหตุผลที่ต้องการเลิก  พูดคุยกับคนที่รู้สึกไว้วางใจ หรือหันไปทำกิจกรรมอื่นที่ไม่กระตุ้นให้ดื่ม หรือบางทีก็ปล่อยให้ความรู้สึกอยากดื่มนี้มีต่อไป โดยยอมรับถึงความรู้สึกนี้ และรู้ว่าอีกไม่นานมันก็จะหายไป 
7. รู้จักที่จะปฏิเสธ เนื่องจากจะมีบ่อยครั้งที่คนอื่นจะชักชวนให้ดื่ม โดยทำอย่างสุภาพ และจริงจัง ยิ่งปฏิเสธได้เร็วเท่าใด ยิ่งทำให้มีโอกาสน้อยที่จะกลับไปดื่มอีก ดังนั้นไม่ควรลังเลที่จะปฏิเสธอย่างทันทีทันใด เมื่อมีผู้ชักชวนให้ดื่ม
8. การมีกลุ่มที่ช่วยเหลือสนับสนุนกันในการเลิกการดื่ม จะสามารถช่วยให้มีกำลังใจ ได้เห็นตัวอย่างของผู้ที่ประสบความสำเร็จในการเลิกดื่ม และให้ประสบการณ์หรือวิธีการของแต่ละคนในการเลิกการดื่มได้ด้วย
กล่าวโดยสรุปแล้วการเลิกดื่มสุราหรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์นั้นต้องมีความตั้งใจ และหาแรงจูงใจในการเลิกดื่ม เช่น เลิกดื่มเพราะสุขภาพ เป็นต้น จากนั้นเมื่อตั้งใจจะเลิกแล้วอย่างแน่นอนแล้ว ควรมีการค้นหาว่าตนเองมีลักษณะการดื่มเป็นเช่นไร อะไรเป็นตัวกระตุ้นให้ดื่ม จากนั้นพิจารณาว่าตนเองดื่มสุราอยู่ในระดับใด หากเข้าเกณฑ์ของการเป็นผู้ติดสุรา ควรที่จะปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาช่วยในการเลิกการดื่มพร้อมกับทำพฤติกรรมบำบัดหรือจิตบำบัดร่วมด้วย



ผลของการดื่มสุราต่อสุขภาพ


          ผู้ที่ดื่มสุราเรื้อรังจะมีอายุเฉลี่ยสั้นลง 10-14 ปี แต่ถ้าดื่มตามกำหนดอายุเฉลี่ยจะยาวกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม โดยเฉพาะเมื่อเริ่มดื่มเมื่อมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ บางคนแนะนำให้ดื่มหลังอายุ 60ปี  ถ้าได้ดื่มเกินขนาดอาจจะทำให้เสียชีวิต หากคุณดื่มสุราเป็นประจำมากเกินไปอาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพดังนี้


ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ
·         ผู้ที่ดื่มมากกว่า 3 หน่วยสุราทุกวันจะมีโอกาสความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะผู้สูงอายุหากดื่มมากความดันก็จะสูง ยิ่งดื่มมากยิ่งสูงมาก เมื่อความดันโลหิตสูงก็เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่ดื่มครั้งละมากกว่า 8 หน่วยสุราต่อครั้งจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนปกติ 2 เท่า ผู้ดื่มสุราเป็นปริมาณมากและเรื้อรังจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจวาย
·         จากการศึกษาผู้ป่วยเป็นจำนวนมากพบว่าหากดื่มสุราขนาดปานกลางดังกล่าว จะมีอัตราการตายจากโรคหัวใจน้อยกว่าผู้ที่ดื่มมากและผู้ที่ไม่ดื่มสุรา การจะให้ลดอัตราการตายควรจะดื่มเมื่ออายุมากกว่า 65 ปีและมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ชนิดของสุราที่ลดอัตราการตายได้ดีคือพวกไวน์ทั้งนี้ อาจจะเนื่องจากผู้ที่ดื่มไวน์มักจะสูบบุหรี่น้อยกว่าพวกที่ดื่มสุราอย่างอื่น และได้รับสารอาหารครบถ้วนกว่า มีคำอธิบายว่าทำไมสุราจึงลดอัตราการเกิดโรคหัวใจโดยปกติแล้วการเกิดโรหลอดเลือดหัวใจตีบตันจะต้องมี 1การที่หลอดเลือดแดงตีบ 2มีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดแดง 3ลิ่มเลือดทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ สุราจะช่วยโดยป้องกันการหดตัวของหลอดเลือด ป้องกันการแข็งตัวของลิ่มเลือด และทำให้ลิ่มเลือดละลายเร็ว
·         แต่อย่างไรก็ตามท่านต้องชั่งน้ำหนักให้ดีว่าประโยชน์และโทษอันไหนมากกว่ากัน หากดื่มมากเกินก็เสี่ยงต่อโรคกระเพาะ ตับแข็ง อุบัติเหตุ สำหรับท่านที่ไม่ได้ดื่มอยู่แล้วแนะนำว่าไม่ควรดื่มเพราะมีอีกหลายวิธีที่จะป้องกันโรคหัวใจ สำหรับท่านที่ดื่มก็แนะนำให้ลดปริมาณลงเท่าที่กำหนด

ผลของสุราต่อการทำงานของสมอง
ผู้สูงอายุจะมีปัญหาเรื่องความจำและความคิดอ่าน หากดื่มสุราจะทำให้สมองฝ่อก่อนวัยโดยเฉพาะสมองส่วนหน้า frontal lobes ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิดอ่าน ผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาเรื่องการทรงตัว การดื่มสุราก็จะทำให้การทรงตัวเสียมากขึ้นจึงหกล้มมากขึ้น

น้ำหนักเกิน
สุราก็มีพลังงาน เช่นเบียร์หนึ่งแก้วจะให้พลังงาน 95 กิโลแคลอรี หากคุณอ้วนคุณก็จะมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

อุบัติเหตุ
คนที่ดื่มสุรามักจะเกิดอุบัติเหตุทั้งที่บ้าน ที่ทำงานและบนท้องถนน และเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุมากกว่าครึ่ง เมื่อคุณดื่มสุรามากกว่า 2 หน่วยก็ทำให้ความสามารถในการขับขี่ลดลง ผู้ที่ดื่มสุราหนึ่งหน่วยจะเพิ่มความเสี่ยงเป็นสองเท่า ผู้ที่ดื่ม 4 หน่วยสุราจะเพิ่มความเสี่ยง 7 เท่า นอกจากนั้นผู้ที่ดื่มสุราอาจจะทำให้เกิดความรุนแรงภายในบ้าน

โรคตับ
สุราทำให้เกิดโรคตับได้หลายอย่าง เช่นไขมันจับที่ตับ Fatty liver พบได้บ่อยเมื่อเลิกสุราก็จะกลับมาปกติ ตับอักเสบ พบว่าร้อยละ 10-35 ของผู้ดื่มสุรามากจะเป็นตับอักเสบ ร้อยละ 10-20 จะเป็นตับแข็ง ผู้ที่ดื่มสุราและไม่ค่อยรับประทานอาหารจะมีโอกาสเป็นตับแข็งสูงและมะเร็งตับ การรักษาที่ดีที่สุดคือการอดสุรา ผู้ที่มีไขมันเกาะที่ตับหรือตับอักเสบจะกลับสู่ปกติ ส่านผู้ที่ตับแข็งคุณภาพชีวิตจะดีขึ้นหลังจากอดสุรา  มีรายงานว่าต้องให้สารอาหารคาร์โบไฮเดตร์ให้พอ ให้สาร polyunsaturated lecithin (PUL)(ซึ่งสกัดจากถั่วเหลือง)ให้เพียงพอเพราะสารนี้จะไปลด scar นอกจากนั้นควรจะได้สาร S-adenosyl-l-methionine (SAM) ซึ่งกล่าวว่าจะลดการอักเสบของตับ

มะเร็งระบบอื่น
ได้แก่มะเร็งปาก  ปอด หลอดอาหาร ตับอ่อน และคอหากสูบบุหรี่จะทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

ระบบทางเดินอาหาร
หากดื่มเกินขนาดอาจจะทำให้ปวดท้อง เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

ผลของสุรากับการทำงานของสมองและการนอนหลับ
สุราจะมีผลต่อสมองทุกส่วน ทำให้เกิดอาการซึมเศร้า สับสน บางรายอาจจะทำให้เกิดโรคจิต และหลอดเลือดสมองแตกการนอนหลับเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต ผลของสุราต่อการนอนหลับแบ่งออกเป็น
·         ผลของสุราต่อผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้ที่ดื่มสุราก่อนนอนจะทำให้หลับง่ายเนื่องฤทธิ์กดประสาทของสุรา หลังจากนอนไปหนึ่งชั่วโมงก็จะมีการตื่นบ่อยและหลับยากโดยเฉพาะผู้สูงอายุจะเกิดอาการได้ง่ายและมากกว่าคนหนุ่ม และเมื่อตื่นมาการทรงตัวจะไม่ดีทำให้ล้มลงกระดูกหักได้ง่าย ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเพลียและง่วงในตอนกลางวัน สำหรับผู้ที่ดื่มสุราก่อนนอน 6 ชั่วโมงผู้ป่วยจะตื่นได้ง่ายและหลับยาก
·         ผลของสุราต่อผู้ที่เป็นพิษสุราเรื้อรัง ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีปัญหาเรื่องการนอนมาก นอนหลับยาก ตื่นบ่อย คุณภาพของการนอนไม่ดีทำให้อ่อนเพลียในเวลากลางวัน หากผู้ป่วยลดสุรามากเกินไปจะเกิดอาการลงแดง alcohol withdrawal syndrome จะนอนไม่หลับ หรือช่วงสั้นๆ เกิดภาพหลอน

ผลต่อฮอร์โมน
สุราทำให้มีการสร้าง estrogen (ฮอร์โมนเพศหญิง) สูงจึงเป็นสาเหตุให้เกิดสมรรถภาพทางเพศลดลง

ผลต่อกล้ามเนื้อและกระดูก
ผู้ที่ดื่มสุรานานจะทำให้เกิดโรคกระดูกจาง กล้ามเนื้อรีบ คันปริเวณผิวหนัง

ผู้หญิงกับการดื่มสุรา
ผู้หญิงไม่ควรดื่มสุราเนื่องจากผู้หญิงจะมีระดับสุราและโรคแทรกซ้อนมากกว่าผู้ชายเมื่อดื่มสุราปริมาณเท่ากัน มีการศึกษาในสหรัฐพบว่าผู้หญิงร้อยละ 34 ดื่มสุรามากกว่า 12 หน่วยเมื่อเทียบกับผู้ชายดื่มซึ่งมีผู้ที่ดื่มร้อยละ 56 อายุที่ดื่มมากคือ 26-34 ปี คนท้องไม่ควรดื่มสุราเพราะจะทำให้เด็กเกิดมาน้ำหนักน้อย และมีปัญหาต่อสุขภาพเด็ก


            ผลของสุราต่อสุขภาพผู้หญิงพบได้เหมือนกับผู้ชายแต่พบได้บ่อยกว่าและเป็นตอนอายุน้อยกว่า โรคตับจะพบว่าหลังดื่มไม่นานผู้หญิงจะเป็นโรคตับอักเสบได้เร็วและตายจากโรคตับแข็ง สมองของผู้หญิงที่ดื่มสุราจะมีขนาดเล็กกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม ผลต่อหัวใจหากดื่มปริมาณ 1-2หน่วยสุราก็สามารถป้องกันโรคหัวใจและหากดื่มมากก็จะมีโรคกล้ามเนื้อหัวใจวาย cardiomyopathy มีรายงานว่าผู้ที่ดื่มสุราจะเป็นมะเร็งเต้านมได้บ่อยกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม มีรายงานว่าผู้หญิงที่ดื่มสุรามักจะเป็นเหยื่อของความรุนแรง เช่นการทุกทำร้ายร่างกาย การถูกข่มขืน

ภาวะเสี่ยงจากดื่มสุรา


แบบฟอร๋มบันทึกการประเมินและวางแผนการดูแลอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจากสุรา

แบบบันทึกการประเมินและวางแผนการดูแลอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจากสุรา

ชื่อ.........................................................อายุ……HN……………วันที่รับไว้...................วันที่จำหน่าย................                             
การประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว
พฤติกรรมการดื่มสุร า ดื่มครั้งแรกเมื่ออายุ............ปี   วันที่ดื่มแอลกอฮอล์ครั้งสุดท้าย…………………………….
การดื่มในปัจจุบัน (ชนิด/ปริมาณ/ความถี่/กับใคร/ตอนไหนบ้าง/เคยหยุดดื่มหรือไม่ ช่วงไหนเพราะอะไร หยุดแล้วมีอาการผิดปกติหรือไม่)



เหตุผลที่ยังดื่มปัจจุบัน.........................................................................................................................................
ผู้ดูแล     .........................................................เกี่ยวข้องเป็น..............      เบอร์โทร....................... (ทำผังเครือญาติหน้าหลัง)
AUDIT SCORE ………………Level    social    harmful    hazardous  alc dependence
สรุป ปัญหาทางกาย จิต
การวินิจฉัย
วัน/ปีที่พบ
การวินิจฉัย
วัน/ปีที่พบ
การวินิจฉัย
วัน/ปีที่พบ
acute intoxication

alc withdrawal

Hepatitis

alc related accident

derilium tremens

Cirrhosis

alc psychosis

depression

UGIH

drug addict


gastritis

Acute illnessอื่นๆ
โรคเรื้อรังอื่นๆ
สรุป ปัญหาทางจิต ครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ
1……………………………………………………………………………………………………….
2………………………………………………………………………………………………………..
3…………………………………………………………………………………………………………
แผนการจำหน่าย ระยะสั้น
การให้ความรู้และฝึกทักษะที่จำเป็น
วันที่
ผู้แนะนำ
ผู้รับข้อมูล
ประเมินผล
1.        การวินิจฉัยโรค




2.        ความรู้เกี่ยวกับโทษของการดื่มสุรา




3.        การดื่มที่ปลอดภัย




4.        กลไกการติดเหล้าของสมองและเทคนิคการเลิกสุรา




5.        medication ยาที่ได้รับ ข้อควรระวัง ยาที่ห้ามใช้






6.        ด้านโภชนาการ อาหารที่เหมาะสม /ควรหลีกเลี่ยง





7.        อาการและปัญหาฉุกเฉินที่ต้องมารพ. ตาเหลือง เลือดออกผิดปกติ ถ่ายดำ ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ไข้สูง ประสาทหลอน ซึมเศร้า........................................




8.        แนะนำคลินิกเลิกเหล้า แหล่งที่พึ่ง ที่ปรึกษาปัญหาได้
(ชื่อ เบอร์โทร/hotline)




แผนการดูแลต่อเนื่อง
1.       การช่วยเหลือด้านกาย จิต ครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ
1.1
1.2
1.3

2.       การประเมินความตั้งใจและทัศนคติในการเลิกสุราและการบำบัด(ใช้ต่อเนื่องที่OPD/admitครั้งต่อไป)
วันที่
Stage of change
การช่วยเหลือบำบัด/ให้คำปรึกษา
แผนของผู้ป่วยและญาติ
ลักษณะการดื่มปัจจุบัน












นัดวันที่












นัดวันที่












นัดวันที่












นัดวันที่