2 .การให้ความช่วยเหลือแบบสั้น (Brief Intervention) เป็นการสื่อสารสองทางด้วยการสร้างความตระหนัก การให้ข้อมูล ตลอดจนการวางแผนปฏิบัติเพิ่มลดหรือเลิกการดื่มอย่างเป็นรูปธรรมโดยใช้เวลา 20- 30 นาที
3. การให้คำปรึกษา เป็นการสื่อสารสองทางเพื่อช่วยให้ผู้รับบริการเกิดความตระหนักและมีแนวทางใน การแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ของตนเองโดยใช้เวลาในการสนทนาครั้งละประมาณ 45 นาทีเป็นจำนวน 4-8 ครั้ง วิธีการให้บริการแบบที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาการดื่มที่ชัดเจนและมีแรง จูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนพอสมควรในผู้ดื่มแบบเกิดปัญหา (Alcoholic Abuse) อาจมีเป้าหมายอื่นที่การลดหรือการเลิกการดื่มของตนรวมทั้งป้องกันไม่ให้กลาย เป็นผู้ดื่มแบบติด (Alcoholic Dependence) ในอนาคต
4. การบำบัดสำหรับผู้ดื่มแบบติด (Alcoholic Dependence)
4.1 การถอนพิษ (Detoxification) เป็นการบำบัดด้วยยาและการดูแลสุขภาพโดยมีจุดประสงค์เพื่อการป้องกันหรือลด อาการลงแดง และนับเป็นขบวนการที่เกิดขึ้นก่อนที่จะให้การบำบัดระยะยาวต่อไปการถอนพิษอาจ ทำได้ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
4.2 การลดอาการลงแดง (Alcoholic withdrawal syndrome) เป็นการบำบัดด้วยยาและการสนับสนุนทางการแพทย์ เพื่อให้ผู้ที่ขาดแอลกอฮอล์แล้วมีอาการลงแดงเกิดอาการลงแดงน้อยและไม่เกิด ภาวะแทรกซ้อนขึ้นการรักษาอาการลงแดง ยังรวมถึง การป้องกันและรักษาอาการสับสน ( Delirium) ภาวะสมองขาดไทอามีน (Thiamine)และอาการนี้อาจเกิดร่วมขึ้นมาได้การรักษาแบบนี้มักทำแบบผู้ป่วยใน บางรายอาการน้อยก็อาจจะรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้
5. การบำบัดระยะยาวสำหรับผู้ติดแอลกอฮอล์
5.1 การให้การปรึกษา
5.2 การบำบัดแบบการปรับพฤติกรรม (cognitive-behavioral treatment)
5.3 การบำบัดแบบเบ็ดเสร็จ
5.4 การบำบัดแบบพึ่งพาตนเองและแบบกลุ่ม
5.5 การบำบัดอื่นๆ เช่น การใช้สมุนไพร การปฏิบัติธรรมเป็น ต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น